
บริหารงานบุคคลในคลังสินค้า
ปัจจัยการบริหารจัดการงานบุคคลในคลังสินค้าและโลจิสติกส์
กระบวนการ (Process) ได้แก่ การวางแผน (Planning) การสั่งการ (Directing) การจัดองค์การ (Organizing) การประสานงาน (Co-ordination) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) การควบคุม (Controlling)
การบูรณาการ (Integration) เป็นการสร้างความสมดุล และความสอดคล้องต่อเนื่องกันระหว่างทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการเพื่อความสำเร็จขององค์การ
ทรัพยากร (Resources) ได้แก่ เนื้อที่ – ทุน – คน – เวลา – เครื่องมือ
ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นดรรชนีตัวชี้วัดความสำเร็จของคลังและโลจิสติกส์ต่างๆ
การบริหารคลังสินค้าจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่ที่กระบวนการวางแผน โดยเริ่มตั้งแต่ Sale ไปนำ order มาจากลูกค้า ส่งให้ฝ่ายจัดซื้อ เพื่อมาทำการวางแผนการจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งบ่อยครั้งที่ตัวเลยที่ Sale นำมาไม่ตรงกับ order ที่ลูกค้าสั่ง จนทำให้ต้องส่งคืน ซึ่งจุดนี้สามารถวัดตัวการทำงานของ Sale ว่าคนไหนที่มีความถูกต้องของorder มากที่สุด เป็นการวัดประสิทธิภาพในการรับ order
หากต้องการปรับปรุงต้องติดตามผลการดำเนินการได้ด้วยดรรชนีวัดผลการดำเนินงานมีกฏว่า “You Can’t Manage – What You Can’t Measure” (Old Adage) คือ อะไรก็ตามถ้าไม่วัด จะไม่ได้ผล อย่างบริษัทกำหนดว่าถ้าปีนี้พนักงานจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือน ถ้าใน Warehouse มี stock เกิน 20 วัน ถ้าใช้วิธีนี้เป็นตัววัดประสิทธิผลจะทำให้ stock จะเหลือ 10 วัน เพราะทุกคนกลัวไม่ได้ขึ้นเงินเดือน ทำให้ต้องเข็มงวดมากขึ้น
การปรับปรุงต้องเริ่มที่การวางแผน อย่างการรับ order ของ Sale คือรับ order มาวันนี้ จะให้ส่งของให้ลูกค้าวันนี้เลย มิเช่นนั้นจะไม่ได้ order จากลูกค้า ถ้า Warehouse ส่งสินค้าไม่ได้ ความผิดที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของ Warehouse เพราะอาจทำให้กระบวนการทั้งหมดรวน อย่าลืมว่าเราไม่ได้มีลูกค้ารายเดียว ถ้าเราขายให้รายนี้แล้วอีก 10 รายมีปัญหา ยิ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ด้วยยิ่งไม่คุ้ม แถมอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการเร่งรับ order เช่น ค่า OT พนักงานที่อยู่ทำงาน บวกกับค่าใช้จ่ายอื่น การทำคลังสินค้าบางครั้งจะรู้จักสินค้ามากกว่า Sale อีก เพราะจะรู้จักคนรับสินค้า รู้จักคนที่จะใช้สินค้า
เรื่องข้อมูลกับการทำงานคลังสินค้ามีความสำคัญมาก เช่น การรับ order ปริมาณมากๆ อาจต้องมีการตรวจสอบสถิติว่าบริษัทลูกค้ารายนี้เคยมีการสั่งซื้อมากขนาดนี้หรือไม่ หรือมีการพูดคุยกับลูกค้าว่าไม่เคยมีการสั่งมากขนาดนี้มาก่อน จะจัดส่งแบบทยอยส่งได้หรือไม่ เพราะสิ่งที่คลังสินค้ากลัว คือ กลัวการส่งของไม่ทัน กลัวว่าต้องจ้างรถข้างนอกมาเพิ่ม กลัวเรื่อง OT เป็นต้น
การพูดคุยกับลูกค้าอาจทำให้ทราบความต้องการของลูกค้า บางครั้ง Sale อาจแจ้งว่าต้องจัดส่งสินค้าในวันที่รับ order แต่พอคลังสินค้าได้พูกคุยกับลูกค้าก็ทราบว่าไม่จำเป็นต้องรีบเร่งจัดส่งไปภายในวันนี้ก็ได้ นั้นแสดงว่า Sale ต้องการเร่งปิดยอดขาย ปัญหาแก้ได้โดยพูดคุยถามข้อมูล ต้องสงสัยก่อน เพราะจะทำให้เรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่สั่งมาเท่าไรก็ส่งไปหมด เพราะ Process ที่ดีจะไม่มีกะทันหัน ด่วน ด่วนพิเศษ ด่วนที่สุด เพราะถ้ามี order แบบด่วนพิเศษบ่อยๆ แสดงว่า การวางแผนไม่ค่อยดี ควรต้องมาพูดคุยกับฝ่าย Sale
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารคลังสินค้าขึ้นกับข้อมูลและต้นทุน ความสำเร็จต้องขึ้นกับการบริหารเวลา พื้นที่ของคลังสินค้า ค่าใช้จ่าย แรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ การสื่อสาร จะสามารถลดต้นทุนตรงจุดไหนได้บ้างต้องดูบริษัทของตัวเอง กลยุทธ์ในการบริหารคนไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรม เพราะการบริหารคนใช้ทฤษฎีนี้ใช้ได้เหมือนกันหมด กลยุทธ์เรื่องการจ้างคนทุกบริษัทต้องการจ้างคนเก่ง แต่ก็มีแค่บางคนเท่านั้นที่เหมาะกับองค์กร คนที่มีคุณสมบัติเหมาะกับงาน