
Safety First ในธุรกิจขนส่งวัตถุอันตราย
การบริหารจัดการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ “วัตถุอันตราย” ความปลอดภัยเป็นเงื่อนไขสำคัญและต้องสร้างความตระหนักให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ มีการพัฒนาทักษะ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะป้องกันเหตุตลอดเวลา
การขนส่งสินค้าเคมี การจัดเก็บ การทำธุรกิจ สินค้าวัตถุอันตราย เช่น กัมมันตรังสี น้ำมัน ก๊าซ เป็นต้น มีเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวัตถุอันตราย มีเรื่องการจัดเก็บ Warehouse สำหรับสินค้าเคมีภัณฑ์โดยเฉพาะ ส่วนกฎหมายเป็นเรื่องเฉพาะทาง วัตถุอันตรายมีอะไรบ้าง และการจัดการอย่างไร
ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ขนส่งมีหน้าที่ขออนุญาตประกอบการขนส่งที่กรมการขนส่งทางบก หากมีการขนส่งเคมีภัณฑ์วัตถุอันตราย กฎหมายกำหนดให้ติดเครื่องหมายและป้ายที่ได้มาตรฐาน UN Number ทั้งฉลากผลิตภัณฑ์ และที่ข้างตัวรถด้วย การติดเครื่องหมายบนรถขนส่ง แม้แต่เป็นผู้ขนส่งก็ต้องตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มีฉลากเรียบร้อย และตรงชนิดกันหรือไม่ เพราะอาจมีความผิดได้ แม้เรื่องการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์จะเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตหรือผู้จัดเก็บก็ตาม มีการจัดแยกขนถ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
มีใบกำกับการขนส่ง ซึ่งเขียนเป็นกฎหมาย (แต่ในทางปฏิบัติแทบไม่มีขนส่งไหนทำ) และในกฎหมายกำหนดไว้ด้วยว่าต้องมีสมุดประจำรถ โดยจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจว่าวันนี้วิ่งจากจุดไหนไปจุดไหน ออกเวลากี่โมง สินค้าเป็นอะไร มีการทำเป็นหนังสือสามารถตรวจดูย้อนหลังได้ อันนี้ถือเป็นกฎหมายปลีกย่อย
การขอประกอบการอนุญาตขนส่ง กฎหมายกำหนดหรือแบ่งวัตถุอันตรายเป็น 9 ประเภท โดยแบ่งเป็น 6 ประเภทย่อย ก๊าซ ของเหลวไวไฟ ของแข็งไวไฟ สารออกซิไดซ์ ตัวเองไม่ติดไปแต่เป็นตัวเร่งให้มีการติดไฟได้เร็วขึ้น สารพิษ สารติดเชื้อ กัมมันตภาพรังสี สารกัดกร่อน
วัตถุอันตรายจะมีการกำหนดอักษรภาพและเครื่องหมายที่รถบรรทุกทุกคัน ซึ่งกฎหมายกำหนดรถให้ติดอักษรภาพหรือที่เรียกว่า Diamond Sign ได้แก่ รถบรรทุกวัตถุประเภทที่ 1ไม่ว่าจะบรรทุกปริมาณมากน้อยแค่ไหนก็ตาม และประเภทที่ 6 พวกสารพิษสารติดเชื้อ และประเภท ที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี หรือข้อ 2 รถบรรทุกวัตถุอันตรายประเภทอื่นนอกเหนือจากข้อ 1 เพราะว่าวัตถุอันตรายมี 9 ประเภท คือ ประเภทที่ 1, 6, 7 ไมว่าจะขนมากหรือน้อยก็ต้องติด
ส่วนประเภท 2, 3, 4, 5, 8, 9 ถ้าขนไม่เกิน 1,000 ลิตรไม่ต้องติดก็ได้ ถ้ารถปิคอัพขน 1,000 กิโลกรัม หรือ1,000 ลิตรก็ไม่ต้องติด และไม่ต้องอยู่ในกฎหมาย ไม่ถูกบังคับและคนขับรถก็ไม่ต้องเป็นประเภทที่ 4 แต่ถ้าเป็นประเภท 1, 6, 7 แม้ว่าจะมีแค่ 1 – 2 กิโลกรัมก็ต้องติด Diamond Sign กฎหมายบังคับ
เข้าใจว่าปัจจุบันใช้รถปิคอัพ ขนส่งมากและคนขับรถปิคอัพก็ไม่มีใบขับขี่ประเภทที่ 4 เพราะการที่จะได้ใบขับขี่ประเภท 4 ต้องมีใบขับขี่ประเภท 3 ก่อน แล้วถึงจะไปขอเพื่อสอบใบประเภท 4 ได้ ซึ่งประเภท 3 คือ การขับรถเทรเลอร์ รถหัวลาก ซึ่งถ้าคนขับปิคอัพหรือรถ 6 ล้อ ไม่เคยมีประสบการณ์มาเลยแล้วจะไปขอประเภทใบขับขี่ประเภท 4 ที่ต้องขับเทรเลอร์คงยากมาก ซึ่งหลายคนเจอปัญหานี้ ทำให้มีผู้ใช้รถปิคอัพบรรทุกกันมา บรรทุกประมาณ 900 กว่ากิโลกรัม แต่ไม่เกิน1,000 กิโลกรัม เพราะถ้าเกินจะขอขั้นตอนยุ่งยาก
ส่วนตัวรถต้องมีตัวอักษรภาพและเครื่องหมาย บางครั้งจะมีภาพและเครื่องหมาย ติด 2 – 3 อันติดเป็นรูปสามเหลี่ยม จะขึ้นอยู่กับตัวสารนั้นว่ามีความเสี่ยงกี่อย่าง ซึ่งจะมีรายละเอียดบอก โดยสรุปให้เอาไปให้ผู้เกี่ยวข้องอ่านได้เลย บอกความยาว ระยะเส้นขอบห่างจากแผ่นป้าย ตัวอักษรต้องชัดเจนคือสูงไม่น้อยกว่า 25 ซ.ม ทุกอย่างของฉลากจะแบ่งตามประเภท
วัตถุอันตราย 9 ประเภท ดังตัวอย่าง เช่น ประเภทก๊าซทั้งหลาย และก๊าซพิษที่ต้องติดรูปหัวกะโหลกไขว้, ของเหลวและของแข็งไวไฟ, ของแข็งที่ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสอากาศ คือเมื่อความร้อนสูงเกินจากที่กำหนด มีเคมีบางตัวอุณหภูมิแค่ 50 องศาก็ติดไฟ บางครั้งถ้ารถวิ่งตากแดดอากาศร้อนมากๆ พยากรณ์ 37 – 40 องศา โอกาสที่จะไปใกล้กับ 50 องศาก็มีจะต้องใช้รถที่ติดแอร์ไปเลย พวกวัตถุที่ถูกน้ำแล้วจะเกิดก๊าซไวไฟตัวรถ ต้องตรวจสอบให้ดี ไม่ให้รั่ว ถ้าฝนตกน้ำรั่วจะทำให้ลุกไหม้ได้, พวกออกซิไดซ์ มีการทำปฏิกิริยา, วัตถุมีพิษพวกไซยาไนซ์ ปรอท, วัตถุกัมมันตรังสี ,วัตถุกัดกร่อน เป็นต้น
สำหรับใบอนุญาตขับขี่ประเภทที่ 4 โดยทั่วไปรถที่บรรทุกเกิน 1,000 ลิตรจะต้องมีใบขับขี่ประเภทที่ 4 ยกเว้นรถที่บรรทุกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ มีภาชนะบรรจุแต่ละภาชนะไม่เกิน 250 ลิตร ซึ่งปกติไม่ค่อยมีขนาดใหญ่เท่านี้ และต้องมีรถที่ลากจูงรถขนวัตถุอันตรายกรณีที่รถเสียด้วย ถ้ารถที่บรรทุกวัตถุอันตรายเกิดเสีย แล้วมีรถอีกคันที่มาลาก แบบนี้จะได้รับการยกเว้น ถือว่าเป็นการลากจูง
ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีทั้งที่เป็นหีบห่อ กล่อง ถัง หรือเป็น IBC จะมีเป็นโลหะ หรือเป็นถุงอ่อน Big Bag ถ้าเป็น Big Bag ส่วนใหญ่จะเป็นผง เป็นเม็ด ส่วนถุงพลาสติกจะเป็นเคมีที่ไม่ค่อยอันตรายมาก แล้วก็พวกแท้งค์ที่ต้องจุมากกว่า 50 ลิตร ส่วนมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ต้องกำหนดว่า จะต้องผ่านการทดสอบการตกกระเทือน การเรียงซ้อนแรงดัน การฉีกขาด การจับตั้ง ซึ่งมีกำหนดไว้หมด และบรรจุภัณฑ์บางอย่างต้องแสดงสัญลักษณ์UN ที่แสดงไว้ชัดเจน ซึ่ง UN Number จะเป็นแบบ เช่น 4D/Y/100/S /90/D/BAM จะมีการอธิบายคำจำกัดความเลขเหล่านี้ไว้ด้านล่าง เช่น 4D เป็นรหัสของบรรจุภัณฑ์ว่าเป็นถัง หรือ IBC ประเภทใด หรือเป็นสารระเบิดกลุ่มใด
ในกรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสารเคมี ซึ่งบริษัทจะมีขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานว่าต้องปฏิบัตตัวอย่างไรหากเกิดเหตุ คือ ต้องมองหาผู้บาดเจ็บก่อน ต้องทำตัวอยู่เหนือลมหรือเคลื่อนย้ายไปที่อากาศบริสุทธิ์ จากนั้นแจ้งตำรวจ และศูนย์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รายงานแจ้งสถานการณ์ ชนิดสินค้า ชื่อบริษัทเบอร์ติดต่อ สถานที่ใกล้เคียง ห้ามทำประกายไฟ กั้นพื้นที่แจ้งเตือนประชาชนตามความรุนแรงของสารที่รั่วไหล ที่อาจไหลลงท่อระบายน้ำ คูคลอง ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ระวังมิให้ผู้ใดสัมผัสกับสารฯ ด้วย
ปัญหาที่มักพบบ่อยในการขนส่งสารเคมีวัตถุอันตราย คือ ไม่มีการอบรมและควบคุมทั้งคนขับและเจ้าของรถ เมื่อขนส่งเสร็จก็นำรถไปจอดล้างข้างถนน ทำให้สารเคมีไหลลงไปในคูคลอง โดยไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และประเภทของ PDE (Personal Detective Equipment) ซึ่งจะมีเป็น Level A B C เพราะ MSDS ของสารเคมีแต่ละตัวจะบอกว่าการเก็บกู้ต้องใส่ PDE Level ไหน ถ้าเป็น Level A หมายถึงระดับรุนแรงที่สุด และจะมีรายละเอียดของวัสดุด้วย นอกเหนือจาก A B Cเช่น ยากำจัดวัชพืช หรือน้ำยาล้างห้องน้ำก็จะเป็นอีกระดับ คือต้องใส่แว่นตา ใส่ถุงมือ รองเท้าฯลฯ
การชำระล้างก็มีกำหนดไว้ด้วยเช่นกัน อย่าง Level A กำหนดว่าหากไปสัมผัสแล้วต้องนำไปล้างด้วยอุปกรณ์เฉพาะ กรณีมีคนเจ็บไปสัมผัสจะไปล้างตามข้างถนนไม่ได้ เคยมีข่าวกรณีรถสารเคมีคว่ำบนทางด่วน แล้วหน่วยกู้ภัยมาถึงเอาน้ำฉีดลงท่อเลย เพราะเจ้าหน้าที่กู้ภัยไม่ได้รับการอบรมมาก่อน
ส่วนข้อมูลด้านระบบ Safety ที่นำมาจาก ISOPA ซึ่งเป็นองค์กรเคมีภัณฑ์ของยุโรปที่มีข้อมูลใน Web site ที่มีประโยชน์อยู่มาก ซึ่งเป็น Manual สามารถนำมาปรับใช้ได้เลย เช่น กรณีที่เกิดอุบัติภัยมี 3 Level ในการ Respond โดย Level 1 แจ้งทางโทรศัพท์ได้ Level 2 ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปในสถานที่เพื่อให้คำแนะนำ และLevel 3 นอกจากทำตาม Level 2แล้ว ต้องมีอุปกรณ์และทีมงานเข้าไปด้วย
คนขับจะต้องได้รับการฝึกอบรมว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร ต้องแจ้งตำรวจหรือดับเพลิง หรือหน่วยกู้ภัยอย่างไร แต่แปลกตรงที่เมืองไทยมักจะบอกคนขับว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นอย่าเพิ่งบอกใคร ให้เงียบๆ ไว้ก่อน ซึ่งความคิดแบบนี้ควรต้องแล้ว
ในการฝึกอบรมจะมีขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ เมื่อเกิดเหตุต้องขยับรถไปอยู่ในที่ปลอดภัย ที่ที่อากาศเปิด ไม่อับแก๊ส ดับเครื่องยนต์ เพื่อไม่ทำให้เกิดประกายไฟ ส่วนการสื่อสาร ISOPA จะเขียนไว้ละเอียดว่าต้องแจ้งอะไรจุดใดบ้าง ทำเป็นคู่มือติดไว้ในรถ ถ้าเกิดเหตุขึ้นมาให้ทำตามคู่มือ และในกรณีที่คนขับติดต่อมาที่ศูนย์ฯ การ Respond จะต้องแนะนำคนขับให้ใส่อุปกรณ์ป้องกัน
ตัวอย่างของ ISOPA สำหรับเคมีที่อันตรายมาก ซึ่งบางครั้งเวลาเทของทิ้งอาจจะมีสารเคมีเหลือค้างอยู่ในถัง ประมาณ 3 ส่วน 4 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว และต้องทำอุปกรณ์ในการถ่ายน้ำยาเพื่อถ่ายออกให้หมด ซึ่งหน่วยงานของยุโรปทำเป็นคู่มือที่ละเอียดและสามารถหยิบไปใช้ได้ทันที บ้านเราก็สามารถนำของยุโรปมาปรับใช้ได้ ข้อมูลมีอยู่ใน Web site
ลักษณะ ISOPA ที่ไม่ได้เขียนในฟอร์มของ ISOPA แต่เขียนในลักษณะของเปรียบเทียบให้เห็น อย่างด้านซ้ายการรับทำอะไร ด้านขวาเป็นคนขับรถต้องทำอะไร คือ SOP ชนิดหนึ่ง แต่ใช้ในตอน Unloading Tanker ซึ่ง SOP อาจจะครอบคลุมมากกว่านี้ แต่ลักษณะดังกล่าวอาจจะเป็นการบอกถึงรายละเอียดได้ดีกว่า เมื่อรถเข้ามาคนขับต้องทำอย่างไร ผ่านยาม ต้องยื่นเอกสาร ต่อไปฝ่ายรับก็ต้องทำต่อเอาเอกสารไปตรวจสอบ ตรวจเช็ค และจัดเตรียมสถานที่ จากนั้นก็มาที่คนขับรถให้จอดรถให้ไกลที่สุดเท่าที่สายจะลากไปลงถึง และพร้อมจะหนีได้เร็วที่สุด บางโรงงานมีการปรับจุดรับจะมีการตีเส้น หรือทำราวกั้นให้รถวิ่งมาสุดได้แค่เท่านี้ ไม่ให้เข้าใกล้แท้งค์ลงสารเคมีนั้นมากเกินไปเป็นการลดความเสี่ยง
การจัดทำ Guild Line สำหรับ Save Loading และ Unloading สำหรับรถบรรทุก เพราะ Process ของ BBS (Behavior Bash Safety) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องไปสำรวจความเสี่ยงต่างๆ และทำ List ออกมาและมากำจัด List ออกไป ให้เป็นโมดูให้เห็นว่าตัวไซด์เกี่ยวข้องอะไรบ้างรับผิดชอบส่วนไหนบ้าง
การนำ Guild Line มาใช้ ต้องทำการสำรวจ และโปรแกรมขึ้นมาว่าจะ Improvement Program อะไรบ้าง เช่น รถมักจะถอยเกินเส้นตลอด ก็ทำเป็นราวกั้นไม่ให้เกินจะดีกว่า มี Ticker ทริกเกอร์ Improvement Program เพื่อกำจัด Risk ที่ List เอาไว้ที่ละข้อ และมีการทำรายงานตลอด แต่รายงานนี้ต้องแชร์ข้อมูลกันระหว่างไซด์งานกับ Transport Company ซึ่ง Transport Company จะต้องไปทำ Improvement Program เช่นกันเพื่อปรับและวนกลับมาเป็นวงจรแบบ
นอกเหนือจากโปรแกรมแล้ว จะมี SQOS สำหรับ Transport Company ต้องนำใช้กับโรงงานผลิตหรือผู้ให้บริการ แต่มีรถที่ขนเคมีภัณฑ์เข้าไปในโรงงานลูกค้า อย่าลืมว่าให้บริการกับอุตสาหกรรมใหญ่ ลูกค้าเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยมาก และมี ISO9000 ISO14000 ถ้านำ SQOS เข้ามาใช้ก็จะสามารถแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า เรามีการพัฒนาอย่างไร ถ้ายังไม่ดีก็เท่ากับกำลังเริ่มทำต่อไป มีการพัฒนาอย่างไร ซึ่งลูกค้าน่าจะพอใจที่เห็นการพัฒนา
การ Manage Transport Safety เป็น Off Side Activity เพราะรถส่วนมากวิ่งอยู่นอกไซด์งาน การควบคุมคนขับระหว่างขับเป็นเรื่องยาก และยังมี Factor ที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย เช่น รถคนอื่นอาจมาชนรถเราก็ได้ หรือเกิดน้ำท่วม เกิดการจลาจล และอย่างมีการ Outsource Service Provider คนนอกจะไปสั่งโดยตรงได้หรือไม่ เพราะเราไม่ได้จ้างคนขับ คนอื่นจ้างแทนเรา การควบคุมและซัพพลายเชนค่อนข้างซับซ้อน มีหลาย Partyเข้ามาเกี่ยวข้อง มีระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ สรุปสิ่งที่เราควรรู้ คือซัพพลายเชนทั้งหมดที่เป็นการขนส่งระหว่างประเทศ มีอยู่ด้วยกันกี่ party ที่เข้ามาเกี่ยวข้องและมีการบริหารจัดการหรือดูแลกันอย่างไร
ทางยุโรปได้มีการศึกษาเรื่องการ Minimize Cost Transportation หรือ Logistics Cost ในการขนส่งเคมีภัณฑ์ ซึ่งระบุว่าโรงงานที่เริ่มทำงาน 8 โมง เลิก 5 โมง เวลาทำงาน 8 – 9 ชั่วโมง ตอนนั้นคิดว่ามี Cost สูง แต่จากผลศึกษาออกมาว่าถ้าทุกคนทำงาน 16 ชั่วโมง ทั้งโรงงานผลิต ผู้รับสินค้า ทำงานให้ยาวเป็น 16 ชั่วโมง จะเป็นจุดที่ Optimize Cost ที่สุด ทางโรงงานมักจะอ้างว่าถ้าทำงาน 8 ชั่วโมงจะมาเพิ่มเป็น 16 ชั่วโมง ก็ต้องเพิ่มจุดรับสินค้าอีก ก็ทำให้มีCost เพิ่มขึ้น แต่จากผลการศึกษาของยุโรปยอมรับว่าโรงงาน Cost เพิ่มจริง แต่ Total Overall แล้ว Logistics Cost จะ Optimize ที่สุด เพราะรถสามารถทำเที่ยวได้ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวทำละเอียดมาก มีการรายงานว่ารถมาจอดรอกี่ชั่วโมง มีขั้นตอนเดินเอกสารกี่ชั่วโมง รถเริ่มออกมาได้กี่โมง และวิ่งได้ระยะทางเฉลี่ยเท่าไร ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไร จอดรถกี่ชั่วโมง เป็นต้น